ประวัติความเป็นมา จ.ราชบุรี

จังหวัดราชบุรี มีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง “ เมืองพระราชา ” ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศไทย ราชบุรี เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคตะวันตก โดยเป็นศูนย์กลางในด้านอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรและการปศุสัตว์ของประเทศ ทิศเหนือติดต่อจังหวัดกาญจนบุรี ทิศใต้ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี ทิศตะวันออกติดต่อจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนครปฐม และทิศตะวันตกติดต่อประเทศพม่า จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก

อ่านเพิ่มเติม

ประวัติจังหวัด

จังหวัดราชบุรี มีชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง หมายถึง “ เมืองพระราชา ” ราชบุรีเป็นเมืองเก่าแก่เมืองหนึ่งของประเทศไทย จากการศึกษาและขุดค้นของนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี พบว่าดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลองแห่งนี้เป็นถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของคนหลายยุคหลายสมัย และมีความรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต จากหลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุมากทำให้เชื่อได้ว่ามีผู้คนตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ตั้งแต่ยุคหินกลางตลอดจนได้ค้นพบเมืองโบราณสมัยทราวดีที่ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระยุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ได้เคยดำรงตำแหน่งหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งในช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาและตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฎหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า เมืองราชบุรีเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ เป็นสมรภูมิการรบหลายสมัย โดยเฉพาะในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้ยกทัพมาตั้งรับศึกพม่าในเขตราชบุรีหลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุดคือสงครามเก้าทัพต่อมา พ.ศ. 2360 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างกำแพงเมืองใหม่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนการปกครองส่วนภูมิภาคโดยรวมหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่ใกล้ชิดกัน ตั้งขึ้นเป็นมณฑล และได้รวมเมืองราชบุรี เมืองกาญจนบุรี เมืองสมุทรสงคราม เมืองเพชรบุรี เมืองปราณบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ รวม 6 เมือง ตั้งขึ้นเป็นมณฑลราชบุรี ตั้งที่บัญชาการมณฑล ณ ที่เมืองราชบุรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัดราชบุรีหลังเก่า) ต่อมาใน พ.ศ. 2440 ได้ย้ายที่บัญชาการเมืองราชบุรี จากฝั่งซ้าย กลับมาตั้งรวมอยู่แห่งเดียวกับศาลาว่าการมณฑลราชุบรี ทางฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง จนถึง พ.ศ. 2476 เมื่อได้มีการยกเลิกการปกครองแบบมณฑลทั้งหมด มณฑลราชบุรีจึงถูกยกเลิกและคงฐานะเป็นจังหวัดราชุบรีจนถึงปัจจุบัน

สัญญาลักษณ์ จ.ราชบุรี

ลักษณะของดวงตราเป็นอาร์มวงกลมใช้สัญลักษณ์รูปเครื่องราชกกุธภัณฑ์ของพระมหา กษัตริย์ ๒ สิ่งคือ   พระแสงขรรค์ชัยศรีประดิษฐานอยู่บนบันไดแก้ว  และฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรองขอบอาร์มเป็นลายชื่อกนกประกอบพื้น ช่องไฟใช้สีตามความเหมาะสมสวยงามด้านศิลปะ   ทั้งนี้ได้แนวความคิดมาจากหลักฐาน  “รูปฉลองพระบาทคู่ประดิษฐานอยู่บนพานรอง” ที่ปรากฏบนผืนธงซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ได้พระราชทานให้แก่กองเสือป่ามณฑลราชบุรี เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗   ซึ่งปัจจุบันธงข้างต้นเก็บรักษาไว้ที่ห้องพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนเบญจมราชู ทิศ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
          จังหวัดราชบุรีโดยสภาจังหวัดได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติให้ใช้ตราสัญลักษณ์ ใหม่นี้เป็นตราประจำจังหวัดเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๐๙   เป็นต้นมาตราบจนปัจจุบันนี้

ความหมายของตราประจำจังหวัดราชบุรี

          เครื่อง ราชกกุธภัณฑ์ 2 อย่างคือ
          1. ภาพฉลองพระบาทอยู่บนพานทอง
          2. ภาพพระแสงขรรค์ชัยศรี ซึ่งวางอยู่บนพระที่ เพราะชื่อจังหวัดราชบุรี มีความหมายว่า เมืองของพระราชา

*ที่มา : https://www.finearts.go.th/fad1/view/13096-ประวัติความเป็นมาของจังหวัดราชบุรี

(เมืองราชบุรี ปี พ.ศ.2500)  แหล่งที่มาของภาพ : http://www.skyscrapercity.com/